วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักกฎหมายจากคำพิพากษา

บ่อเกิดของกฎหมายท่ำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ หลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาล โดยสืบทอดมาจากระบบศาลหลวงที่ถือว่าเหตุผลได้รับการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็นกฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับตัดสินข้อพิพาท เพราะเหตุผล (Reason) มีค่าเป็นกฎหมายอยู่แล้ว ศาลเป็นเพียงผู้ค้นพบและประกาศใช้ และการที่ศาลระบบคอมมอนลอว์ยอมผูกพันตามแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานก็เป็นไปตามหลักที่ว่า ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่การที่ศาลระบบคอมมอนลอว์จะยอมผูกพันยืดถือตามแนวคำพิพากษาเดิม(The Doctrine precedent)นั้นย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการ คือ
(1) ส่วนที่เป็นเหตุผลที่จำเป็นในการวินิจฉัยคดีนั้น (The ratio decidendi)
(2)คำพิพากษาน้นต้องเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords)
ดังนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักกฎหมายต่างๆ ในระบบคอมมอนลอว์นั้นจะถูกรุงแต่งโดยศาลหรือผู้พิพากษา ทำให้กฎหมายมีรายละเอียดมากในทางฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายมีรายละเอียดมากในทางปฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาเชิงทฤษฎี บทบาทของมหาวิทยาลัยกฎหมายและนักวิชาการอยู่ในวงแคบ ทำให้การพัฒนากฎหมายอยู่ในมือของนักปฎิบัติ คือ ศาลและเนติบัณฑิต ซึ่งรับการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย ระบบกฎหมายคาอมมอนลอว์จึงได้รับการพัฒนาแบบเป็นไปเองภายใต้หลัก “เหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi)” เป็นผลให้โครงสร้างของกฎหมายขาดลักษณะที่เป็นระเบียบสอดคล้องกันไม่เป็นตรรกและเข้าใจยากว่าในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการทางนิติศาสตร์และมีลักษณะเป็นระบบมากกว่า ผู้พิพากษาหรือศาลในระบบคอมมอนลอว์นี้มีบทบาทสำคัญมากจนกระทั่งเราเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า ระบบกฎหมายที่ศาลกำหนดขึ้น (Judge made law) และอาจกล่าวได้ว่าคำพิพากษาของศาลคอมมอนลอว์นั้น นอกจากจะมีบทบาทในการปรับปรุงใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงแล้วยังมีบทบาทในการวางนิติวิธีทางกฎหมายด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอำนาจของศาลในระบบคอมมอนลอว์มีมากกว่าในระบบซีวิลลอว์มาก หลักเกณฑ์ที่ศาลตั้งขึ้นจากการพิจรณาข้อเท็จจริงโดยคำพิพากษานี้จะต้องได้รับการถือตาม (Precedent) เพื่อให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีหลักประกันความแน่นอนและไม่ตกอยู่ภายใต้อำเภอใจของผู้พิพากษา อย่างไรก็ตามการถือตามแนวคำพิพากษานี้มีปัญหาว่านานไปแนวคำพิพากษานั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีข้อยกเว้นการใช้หลัก (Precedent) นี้ในกรณีที่ข้อพิพากษาต่างกัน เรียกว่า “หลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง”(The Technique of Distinctions) คือว่าถ้าข้อเท็จจริงในคดีเหมือนกันทุกประการก็ต้องถือตามแนวบรรทัดฐานเดิม(Precedent) แต่ถ้าวิเคราะห์ออกมาแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นต่างกัน ศาลก็ไม่ต้องถือตามแนวบรรทัดฐาน และหากหลักที่ศาลวางไว้มิได้เป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรงแต่เป็นเพียงข้อสังเกตหรือข้ออ้างที่กล่าวไว้ (Obiter dictum) โดยศาลมิได้มุ่งให้มีผลผูกพันในอนาคต ข้อสังเกตเช่นนั้นก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ถือตาม ด้วยหลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง นี้ทำให้ศาลอังกฤษสามารถพัฒนาระบบกฎหมายที่ยึดหยุ่นและสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ ๆที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องกลับหลักกฎหมายที่มีมาแต่เดิม
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะต้องเจริญรอยตามรำพิพากษาก่อนๆ ซึ่งเป็นแบบอย่าง (Precedent) ก็ตาม แต่หากว่าในกรณีที่คดีก่อนศาลได้ตัดสินไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ในคดีปัจจุบันอาจพิพากษาว่าคดีก่อนได้พิพากษาผิดพลาดไปและพิพากษากลับหลักเกณฑ์ที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้กำหนดไว้ก็ได้ กรณีเช่นนี้ถือเป็นการสร้างแบบอย่าง (Precedent) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อความยึดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์
ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น