วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นิติวิธีของระบบคอมมอนลอว์

นิติวิธีของนักฎหมายในระคอมมอนลอว์นั้น นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์จะให้ความสำคัญต่อหลักกฎหมายจากคำพิพากษาทั้งนี้เพราะระบบกฎหมายคอมมอนลอว์อยู่ภายใต้หลักที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า เป็นระบบกฎหมายที่ศาลได้กำหนดขึ้น(Judge made law) ดังนั้นนิติวิธีของระบบคมอมอนลอว์จึงเป็นหลักที่ได้มาจากการเที่ยงเคียวหลักในคำพิพากษาของศาล (Precedent) หลักการใช้กฎหมายของระบบคอมมอนลอว์จึงมักเป็นหลักเฉพาะเรื่องมาสู่หลักเกณฑ์ทั่งไป (หลักคอมมอนลอว์) โดยการที่ศาลได้พิพากษาเป็นกรณีๆ นี้ ได้ทำให้มีหลักเกณฑ์ขึ้นคำพิพากษาของศาลจึงเป็นการจัดให้ถูกต้องทีละเล็กทีละน้อยและถือเป็นบรรทัดฐานที่ต้องเคารพนับถือคำพิพากษาจะต้องเคารพนับถือคำพิพากษานั้น ๆมากกว่าที่จะเป็นหลักทั่วไปที่เป็นระบบและเป็นเอกภาพแบบในระบบซีวิลลอว์ หลักเกณฑ์การใช้กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์นั้นตั้งอยู่บนรากฐานของหลักเหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi) และต้องกำเนินตามแนวรำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ที่เป็นแบบอย่าง(Precedent) และจะใช้กับกรณีที่ประเด็นแห่งคดีมีข้อเท็จจริงแบบเดียวกันเท่านั้น นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์จะเลี่ยงที่จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดขึ้นมาใช้อย่างครอบคลุมแบบการใช้หลักกฎหมาย (Doctrine) เพราะการทำเช่นนั้นจะถูกลือว่าป็นการบิตเบือนกฎหมายทีเดียวและเนื่องจากการใช้กฎหมายของระบบคอมมอนลอว์เป็นการใช้กฎหมายเฉพาะกรณี (Case law) ดังนั้นวิธีการใช้กฎหมายจึงเป็นการพิเคราะห์แยกแยะข้องเท็จจริง กล่าวคือ หากเป็นข้อเท็จจริงที่เคยเป็นประเด็นและได้แนวคำพิพากษาไว้แล้วก็ต้องถือตามนั้น แต่ถ้าข้อเท็จจริงต่างกันนักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ก็จะแก้ปัญหาโดยการพิจารณาว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้หรือไม่ (แม้ว่านักกฎหมายระบบคมอมอนลอว์มักจะเห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่ค่อยยอมรับฐานะของกฎหมายประเภทนี้ โดยมองว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไป และมุ่งใช้กฎหมายตามรำพิพากษามากกว่าและจะไม่ยอมรับเข้าสู่ระบบกฎหมายอย่างจริงจังจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งนำบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นไปใช้บังคับเสียก่อน และเมื่อเกิดข้อพิพาททำนองเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีมักจะนิยมอ้างคำพิพากษามากกว่าอ้างบทกฎหมาย) และจากการคลี่คลายทางประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งระหว่างศาลกับสภานิติบัญญัติ จากค่านิยมทางกฎหมายที่สืบทอดกันมาและทัศนคติต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่แตกต่างกัน ประกอบกับความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับระบบที่ตั้งอยู่บนรากฐานของประสบการณ์มากกว่าทฤษฎีทำให้นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์มีวิธีการตีตวามกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีวิธีการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่แตกต่างจากวีการของนักกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 หลักคือ
1) หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) หลักการตีความตามตัวอักษรหรือตาม หลักภาษา เป็นกฎข้อแรกและข้อสำคัญที่สุดในการตีความ โดยมีกฎของการตีความ คือ ศาลจะต้องหาความหมายของบทบัญญัติตามที่ผู้บัญญัติได้แสดงออกมาโดยชัดแจ้งในบทบัญญัตินั้น ไม่ว่าผลของการตีความจะเป็นประการใด ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในบทบัญญัตินั้น ไม่ว่าผลของการตีความจะเป็นประการใด ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดและมีความหมายเพียงอย่างเดียวศาลต้องบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้ว่าผลจะเป็นไปในทางเหลวไหลไร้สาระ เรือ ไปในทางร้ายก็ตาม หน้าที่ของศาลไม่ใช่อยู่ที่การทำให้กฎหมายสมเหตุสมผลแต่อยู่ที่แสดงความหมายของมันออกมาตามที่เป็นอยู่ตามความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ การจะอาศัยประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการบัญญัติกฎหมายเป็นเครื่องช่วยในการหาความหมายเป็นสิ่งต้องห้าม
2) หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule) ตามปกติศาลต้องตีความตามความหมายตามธรรมดาของถ้อยคำที่ใช้หรือตามหลักภาษาเว้นแต่ผลของการนั้นจะขัดต่อความมุ่งหมายจองกฎหมายอย่างรุนแรง ก็อาจจะตีความตามความมุ่งหมายของผู้ร่างจะต้องไม่ตีความจนเลยเถิด และจะใช้ต่อเมื่อต้องการหลีกเลี่ยงในทางร้ายอย่างมาเท่านั้น
3) หลักการตีความตามหลักแก้ไขข้อเสีย(Mischief Rule) เป็นข้อยกเว้นของหลักการตีความตามตัวอักษร คือ เป็นการตีความโดยคำนึงถึงเหตุและเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย ถ้าเป็นกรณีที่บท่บัญญัตินั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักคอมมอนลอว์ให้ดีขึ้น หลักเรื่องนี้มีขึ้นเพื่อรองรับนโยบายทั่วไปของบทบัญญัติที่มุ่งปรับปรุงคอมมอนลอว์โดยตรง โดยหลักการตีความในหลักที่ 3 นี้ ศาลสูงของอังกฤษในคดีHeydon ’s Case (1584) 3 Co Rep. 7 A. ได้วางหลักไว้ว่าศาลจำเป็นที่ต้องพิจารณาจากแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่อง 4 ประการ ดังนี้ ก) ต้องพิจารณาก่อนว่าก่อนที่จะมีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นใช้บังรับ หลักคอมมอนลอว์มีอยู่ประการใด ข) มีข้อบกพร่องประการใดที่หลักคอมมอนลอว์มิได้ให้ช่องทางแก้ไขเอาไว้ ค) รัฐสภาได้ให้ทางแก้ไขข้อบกพร่องนั้นไว้ประการใด ง) เหตุผลของการแก้ไข่ข้อบกพร่องนั้นมีประการใด ในกรที่ศาลจะใช้หลักนี้ โดยปกติศาลจะต้องอ้างอิงถึงเหตุผลที่ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นใช้บังคับจากคำปรารภในกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนี้นเองหรือจากรายงานของคณะกรรมการพิจารณาค้นคว้าปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนั้นโดยตรง
กรณีหาปรากฏว่าไม่มีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ นักกฎหมายในระบบรอมมอนลอว์จะแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นมีจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ หากปรากฎว่าไม่มีจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้นักกฎหมายในระบบคมอมอนลอว์ก็จะแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้น ได้มีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์เขียนไว้อย่างไรนำมาปรับใช้กับข้อพิพาทนั้นได้หรือไม่ หากปรากฏว่าไม่เคยมีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์เขียนไว้ นักกฎหมายในระบบคมอมอนลอว์ก็จะแก้ไขปัญหาเป็นประการสุดท้ายคือ การใช้หลักเหตุผลของข้อเท็จจริงและหลักความยุติธรรม (Equity) มาปรับใช้อันถือว่าเป็นเครื่องมือในการอุดช่องว่างกฎหมายของระบบคอมมอนลอว์ กล่าวคือ เป็นการค้นหาหลักเกณฑ์ หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่โดยใช้หลักเหตุผล และหลักความยุติธรรมจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เเละไม่ว่าจะเป็นไปในทางกฎหมายแพ่งหรือในทางกฎหมายอาญาศาลในระบบคอมมอนลอว์ก็สามารถค้นหาหลักเกณฑ์หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้
นิติวิธีที่กล่าวมานี้เป็นการใช้และเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายตามแนวความคิดหรือทัศนคติของนักกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น