วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เปรียบเทียบนิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์

จากการศึกษานิติวิธีในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่านิติวิธีในระบบกฎหมายทั้งสองนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันดังต่อไปนี้
2.4.1. บ่อเกิดของกฎหมายหรือที่มาของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ตั้งเดิมนั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้นเหมือนกันกล่าวคือมีที่มาจากจารีตประเพณีเพียงแต่ทั้งสองระบบนั้นมีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันเท่านั้น
2.4.2. โดยที่กฎหมายในระบบซีวิลลอว์และระบบคมอมอนลอว์มีพัฒนาการทางกฎหมายที่แตกต่างกันจึงทำให้กฎหมายทั้งสองระบบนี้ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1) ในระบบซีวิลลอว์นั้นจะให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายเป็นลำดับดังต่อไปนี้ (1) หลักกฎหมายจากคำพิพากษา (2) บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร (3) จารีตประเพณี (4) ข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์ (5) เหตุผลและความยุติธรรม
2.4.3. ด้วยสาเหตุที่ระบบซีวิลลอว์และระบบคอมมอนลอว์ให้ความสำคัญต่อบ่อเกิดของกฎหมายแตกต่างกันไปด้วยดังต่อไปนี้
1)วิธีศึกษาค้นคว้ากฎหมายของทั้งสองระบบมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การศึกษาจะเน้นให้ความสำคัญที่ “ตัวบท”ของประมวลกฎหมาย และให้ความสำคัญแก่คำอธิบายทางทฤษฎี (Doctrine) กฎหมายต่าง ๆ ที่นักกฎหมายได้กำหนดขึ้น การสอนกฎหมายจึงเน้นหนักไปในทางสอนให้เข้าใจความหมายในตัวบทและหลักทฤษฎีกฎหมายต่าง ๆ การสอนเช่นนี้เท่ากับชี้ให้เห็นว่าศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นหากจะค้นคว้าคำอธิบายตัวบทนั้น ๆ ต่อไปแล้วจึงค่อยไปดูคำพิพากษาที่เป็นตัวอย่างในการปรับใช้กฎหมายเป็นอันดับต่อไป
(2) ส่วนนะบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การศึกษาจะเน้นให้เห็นว่าความสำคัญอั้นดับแรกอยู่ที่คำพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วเป็นลำดับมาและแสดงให้เห็นบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการพัฒนากฎหมายและทำให้กฎหมายมีข้อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรมานั้นถือว่าเป็นการออกกฎหมายพิเศษ ซึ่งเป็นกฎมายที่มายกเว้นหลักคอมมอนลอว์ที่ถือเป็นกฎหมายทั่วไป การค้นคว้าก็จะเริ่มจากคำพิพากษาเป็นอันดับแรก เว้นแต่งเองที่ต้องการค้นคว้าได้มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ แม้กระนั้นก็ตามหากมีคำพิพากษาที่ได้ใช้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นแล้วศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นก็จะดูคำพิพากษาเป็นหลักมากกว่าที่จะไปดูบทกฎหมายลายลักษณ์อักษร
2) วิธีการใช้และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางกฎหมายของนักกฎหมาย ตลอดจนวิธีพิพากษาอรรถคดีของศาลทั้งสองระบบมีแนวความคิดแตกต่างกัน กล่าวคือ
(1) ศาลในระบบซีวิลลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้วศาลก็จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดี โดยการใช้กฎหมายหรือการตีความกฎหมาย ในกรณีไม่มีบทกฎหมายมาปรับใช้ได้โดยตรงศาลอาจจะมาพิจารณาว่าจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มีศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีหลักกฎหมายทั่วไป (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ หรือข้อคิดข้อเขียนของนักตินิศาสตร์เขียนไว้พอที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่เป็นอันดับสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามนิติวิธีในทางกฎหมายแพ่งและในทางกฎหมายอาญาต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกัน กล่าวคือ
ในทางกฎหมายแพ่งหรือกรอบทางแพ่งหากนิติวิธีมีกำหนดไว้ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้นั้น เช่น ประมวลกฎหมายแล่งออสเตรีย มาตรา 7 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดๆ จะปรับใช้แก่กรณีได้นั้น ให้ศาลใช้ปกติประเพณีหรือหลักกฎหมายธรรมชาติ มาปรับใช้” ในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญาระบบซีวิลลอว์ต้องยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ ศาลต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้นมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษ ศาลจะนำสิ่งที่ไม่ใช่บทบัญญัติแหงกฎหมายมาตัดสินพิพากษาคดีเพื่อลงโทษหรือเพิ่มโทษไม่ได้ แต่อาจจะใช้ในทางอื่นที่เป็นคุณได้ เช่น อาจใช้จารีตประเพณี หรือหลักกฎหมายทั่วไปในทางที่เป็นคุณ เป็นต้น
(2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ เมื่อศาลพิจารณาจนได้ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะไปค้นคว้าคำพิพากษาที่เคยพิพากษามาแล้วสำหรับข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันแล้วนำมาใช้เทียบเคืองพิพากษาต่อไป และหากไม่เคยมีคำพิพากษาตัดสินคดีไว้ ศาลก็จะมาพิจารณาที่บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีจารีตประเพณีที่จะปรับใช้กับข้อเท็จจริงนั้นได้หรือไม่ หากไม่มีจีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ ศาลก็จะมาพิจารณาว่ามีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์มาปรับใช้ได้หรือไม่ หากไม่มี สุดท้ายศาลอาจค้นหาหลักเกณฑ์หรือสร้างหลักเกณฑ์จากข้อเท็จจริงในคดีนั้นขึ้นใหม่แล้วพิพากษาไปตามเหตุผลที่ได้จากข้อเท็จจริงในคดีนั้น (ถือว่าเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์) และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์สามารถสร้างหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ นิติวิธีในทางกฎหมายแพ่ง และในทางกฎหมายอาญา จึงไม่มีความแตกต่างกันเลย เว้นแต่ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอาญาที่มีบทกฎหมายลายลัษณ์อักษรกำหนดนิติวิธีไว้โดยชัดเจนเท่านั้น
ในทางกฎหมายแพ่ง หรือกรอบในทางแพ่งศาลสามารถสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้ เช่นในคดี Wilinson v Downton (1879) 2 Q.B.57 ส่นในทางกฎหมายอาญา หรือกรอบในทางอาญา นั้นโดยที่ความรับผิดทางอาญาในประเทศอังกฤษสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ข. ความผิดตามกฎหมายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ซึ่งความรับผิดทั้งประเภทนี้มีนิติวิธีที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ก. ความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) ความผิดประเภทนี้เกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์กำหนดความความผิดทางอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้น โดยศาลถือหลักว่าการกระทำใดที่เป็นฝ่าฝืนและเป็นปฏิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนการกระทำนั้นย่อมอยู่ในข่ายที่จะเป็นความผิดอาญาได้ทั้งสิ้น การวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้นในคำพิพากษานี้ต่อมากลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ส่วนการกำหนดระวางโทษก็เป็นอำนาจในการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดระวางโทษสำหรับความผิดอาญาฐานใหม่ที่ศาลได้กำหนดขึ้นนั้น สาเหตุที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้มาได้และสามารถกำหนดระวางโทษสำหรับความปิดอาญาฐานใหม่ได้นั้นเป็นเพราะในระบบคอมมอนลอว์มิได้ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” เหมือนอย่างระบบซีวิลลอว์ และถือเป็นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ซึ่งถือเป็นนิติวิธีที่สำคัญมากในระบบคอมมอนลอว์เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น ในคดีอาญา Rex v. Manlay (1930) หรือในคดี Shaw v.D.P.P (1962) ซึ่งเป็นการที่ศาลกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาโดยวิธีการวางหลักเกณฑ์หรือหลักกฎหมายใหม่ ๆ ในคำพิพากษา เป็นต้น
ข.ความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala Prohibita) ศาลจึงต้องใช้หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด ศาลไม่สามารถวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักเกณฑ์หรือวางหลักกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาในคำพิพากษาได้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับภาษี ความผิดเดี่ยวกับการพนัน ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.4.4 ความชัดเจนของกฎหมายในระบบกฎหมายทั้งสองมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ
1) โดยที่นิติวิธีในระบบซีวิลลอว์ถือว่าบทบัญญัติไว้ในรูปประมวลกฎหมายอย่างชัดเจนไม่ว่าในทางกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะในทางกฎหมายอาญาในระบบซีวิลลอว์ยึดถือหลัก “nullum crimen nulla poena sine lege” ซึ่งแปลได้ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษโดยไม่มีกฏหมาย” ซึ่งส่งผลให้ในทางกฎหมายอาญานั้นจะต้องมีการบัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าการกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษและจะต้องรับโทษ และด้วยความชัดเจนของกฎหมายในระบบซีวิลลอว์จึงทำให้ปะชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดและจะต้องรับโทษหรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง
2) ส่วนในระบบคอมมอนลอว์โดยที่นิติวิธีในระบบนี้ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมายและเป็นบ่อเกิดอันดับแรกของกฎหมาย และโดยเหตุที่ศาลในระบบคอมมอนลอว์ สามารถสร้างหลักเกณฑ์ขากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ได้ ดังนี้ในทางกฎหมายแพ่งหรือในทางกฎหมายอาญาศาลสามารถสร้างหรือวางหลักเกณฑ์ใหม่ได้เหมอ แต่ในทางกฎหมายอาญาความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law offence) โดยที่ความผิดประเภทนี้เป็นการที่ศาลคอมมอนลอว์สามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมาได้โดยเกิดจากการที่ศาลคอมมอนลอว์วางหลักเกณฑ์ขึ้นมาจนกลายเป็นหลักกฎหมายตามคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน (Precedent) ดังนี้ในความผิดอาญาประเภทนี้ศาลจึงสามารถกำหนดความผิดอาญาฐานใหม่ๆ ขึ้นมาได้เสมเมื่อเห็นว่าการกระทำที่เกิขึ้นนั้นเป็นการฝ่าฝืนและเป็นปฎิปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนี้จะเห็นได้ว่าความผิดตามกฎหมายที่ไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษณระบบคอมมอนลอว์นี้ขาดความชัดเจนประชาชนไม่สามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องรับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรไว้บ้าง ส่วนความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร( Statutory law offence) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมาความผิดประเภทนี้จึงเป็นความผิดที่ความชัดเจนประชาชนสามารถทราบได้ว่าการกระทำใดของตนเป็นความผิดและจะต้องับโทษเมื่อใด หรือมีกฎหมายห้ามอะไรบ้างเหมือนอย่างในระบบซีวิลลอว์
2.4.5 ผู้ที่กำหนดนโยบายทางกฎหมายในระบบซีวิลลอว์คือ รัฐสภา เพราะรัฐสภามีหน้าที่ในการออกกฎหมายศาลมีหน้าที่ในการปรับใช้กฎหมายเท่านั้น ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ ศาลมิได้กำหนดนโยบายทางกฎหมาย แต่ศาลสามารถปรับใช้กฎหมายได้ทันที ดังนั้นศาลจึงมีบทบาทสำคัญในการวางหลักนิติวีด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามในระบบคอมมอนลอว์มัจจุบันรัฐสภามีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดนโยบายกฎหมายและออกกฎหมายเช่นนั้น
ดังนี้ในปัจจุบันแนวความคิดของระบบกฎหมายซีวิลลอว์ และระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก กล่าวคือในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่า นับวันตัวอย่างคำพิพากษามีบทบาทมากขึ้น ในฐานะของตัวอย่างการปรับใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย แม้จะมีข้อความที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายลายลักษณ์อัษรแล้วก็ตาม ในบางกรณีก็ต้องอธิบายด้วยตัวอย่างคำพิพากษาที่มีการแก้ปัญหาแล้วเช่นกัน ส่วนในระบบคอมมอนลอว์เองนับวันบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น มีการยอมรับมากขึ้นพอ ๆ กับการยอมรับหลัก ศาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย (Tudge made law) ซึ่งอยู่กับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่มอบหมายห้ารัฐสภามามีบทบาทหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร นับตั้งแต่รัฐเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย ดำเนินแนวทางรัฐสวัสดิการ และนำประเทศเข้าสู่ระบบประชาคมมาเศรษฐกิจยุโรป แต่การที่ระบบคอมมอนลอว์มีความจำเป็นต้องนำบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้นั้นก็มิได้ลดบทบาทของศาลในประเทศอังกฤษที่มีมาแต่เดิมเท่าใดนัก เพราะศาลมักจะตีความให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาบัญญัติขึ้นนั้นให้มีความหมายอย่างแคบ เพื่อที่จะไม่ให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเข้ามาตัดทอนของเขตของหลักคอมมอนลอว์ ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจศาลให้มากที่สุด


นิติวิธีของระบบคอมมอนลอว์

นิติวิธีของนักฎหมายในระคอมมอนลอว์นั้น นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์จะให้ความสำคัญต่อหลักกฎหมายจากคำพิพากษาทั้งนี้เพราะระบบกฎหมายคอมมอนลอว์อยู่ภายใต้หลักที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า เป็นระบบกฎหมายที่ศาลได้กำหนดขึ้น(Judge made law) ดังนั้นนิติวิธีของระบบคมอมอนลอว์จึงเป็นหลักที่ได้มาจากการเที่ยงเคียวหลักในคำพิพากษาของศาล (Precedent) หลักการใช้กฎหมายของระบบคอมมอนลอว์จึงมักเป็นหลักเฉพาะเรื่องมาสู่หลักเกณฑ์ทั่งไป (หลักคอมมอนลอว์) โดยการที่ศาลได้พิพากษาเป็นกรณีๆ นี้ ได้ทำให้มีหลักเกณฑ์ขึ้นคำพิพากษาของศาลจึงเป็นการจัดให้ถูกต้องทีละเล็กทีละน้อยและถือเป็นบรรทัดฐานที่ต้องเคารพนับถือคำพิพากษาจะต้องเคารพนับถือคำพิพากษานั้น ๆมากกว่าที่จะเป็นหลักทั่วไปที่เป็นระบบและเป็นเอกภาพแบบในระบบซีวิลลอว์ หลักเกณฑ์การใช้กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์นั้นตั้งอยู่บนรากฐานของหลักเหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi) และต้องกำเนินตามแนวรำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ที่เป็นแบบอย่าง(Precedent) และจะใช้กับกรณีที่ประเด็นแห่งคดีมีข้อเท็จจริงแบบเดียวกันเท่านั้น นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์จะเลี่ยงที่จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดขึ้นมาใช้อย่างครอบคลุมแบบการใช้หลักกฎหมาย (Doctrine) เพราะการทำเช่นนั้นจะถูกลือว่าป็นการบิตเบือนกฎหมายทีเดียวและเนื่องจากการใช้กฎหมายของระบบคอมมอนลอว์เป็นการใช้กฎหมายเฉพาะกรณี (Case law) ดังนั้นวิธีการใช้กฎหมายจึงเป็นการพิเคราะห์แยกแยะข้องเท็จจริง กล่าวคือ หากเป็นข้อเท็จจริงที่เคยเป็นประเด็นและได้แนวคำพิพากษาไว้แล้วก็ต้องถือตามนั้น แต่ถ้าข้อเท็จจริงต่างกันนักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ก็จะแก้ปัญหาโดยการพิจารณาว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้หรือไม่ (แม้ว่านักกฎหมายระบบคมอมอนลอว์มักจะเห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่ค่อยยอมรับฐานะของกฎหมายประเภทนี้ โดยมองว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไป และมุ่งใช้กฎหมายตามรำพิพากษามากกว่าและจะไม่ยอมรับเข้าสู่ระบบกฎหมายอย่างจริงจังจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งนำบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นไปใช้บังคับเสียก่อน และเมื่อเกิดข้อพิพาททำนองเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีมักจะนิยมอ้างคำพิพากษามากกว่าอ้างบทกฎหมาย) และจากการคลี่คลายทางประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งระหว่างศาลกับสภานิติบัญญัติ จากค่านิยมทางกฎหมายที่สืบทอดกันมาและทัศนคติต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่แตกต่างกัน ประกอบกับความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับระบบที่ตั้งอยู่บนรากฐานของประสบการณ์มากกว่าทฤษฎีทำให้นักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์มีวิธีการตีตวามกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีวิธีการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่แตกต่างจากวีการของนักกฎหมายในระบบซีวิลลอว์ หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 หลักคือ
1) หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) หลักการตีความตามตัวอักษรหรือตาม หลักภาษา เป็นกฎข้อแรกและข้อสำคัญที่สุดในการตีความ โดยมีกฎของการตีความ คือ ศาลจะต้องหาความหมายของบทบัญญัติตามที่ผู้บัญญัติได้แสดงออกมาโดยชัดแจ้งในบทบัญญัตินั้น ไม่ว่าผลของการตีความจะเป็นประการใด ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในบทบัญญัตินั้น ไม่ว่าผลของการตีความจะเป็นประการใด ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดและมีความหมายเพียงอย่างเดียวศาลต้องบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้ว่าผลจะเป็นไปในทางเหลวไหลไร้สาระ เรือ ไปในทางร้ายก็ตาม หน้าที่ของศาลไม่ใช่อยู่ที่การทำให้กฎหมายสมเหตุสมผลแต่อยู่ที่แสดงความหมายของมันออกมาตามที่เป็นอยู่ตามความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ การจะอาศัยประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการบัญญัติกฎหมายเป็นเครื่องช่วยในการหาความหมายเป็นสิ่งต้องห้าม
2) หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule) ตามปกติศาลต้องตีความตามความหมายตามธรรมดาของถ้อยคำที่ใช้หรือตามหลักภาษาเว้นแต่ผลของการนั้นจะขัดต่อความมุ่งหมายจองกฎหมายอย่างรุนแรง ก็อาจจะตีความตามความมุ่งหมายของผู้ร่างจะต้องไม่ตีความจนเลยเถิด และจะใช้ต่อเมื่อต้องการหลีกเลี่ยงในทางร้ายอย่างมาเท่านั้น
3) หลักการตีความตามหลักแก้ไขข้อเสีย(Mischief Rule) เป็นข้อยกเว้นของหลักการตีความตามตัวอักษร คือ เป็นการตีความโดยคำนึงถึงเหตุและเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย ถ้าเป็นกรณีที่บท่บัญญัตินั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักคอมมอนลอว์ให้ดีขึ้น หลักเรื่องนี้มีขึ้นเพื่อรองรับนโยบายทั่วไปของบทบัญญัติที่มุ่งปรับปรุงคอมมอนลอว์โดยตรง โดยหลักการตีความในหลักที่ 3 นี้ ศาลสูงของอังกฤษในคดีHeydon ’s Case (1584) 3 Co Rep. 7 A. ได้วางหลักไว้ว่าศาลจำเป็นที่ต้องพิจารณาจากแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่อง 4 ประการ ดังนี้ ก) ต้องพิจารณาก่อนว่าก่อนที่จะมีการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นใช้บังรับ หลักคอมมอนลอว์มีอยู่ประการใด ข) มีข้อบกพร่องประการใดที่หลักคอมมอนลอว์มิได้ให้ช่องทางแก้ไขเอาไว้ ค) รัฐสภาได้ให้ทางแก้ไขข้อบกพร่องนั้นไว้ประการใด ง) เหตุผลของการแก้ไข่ข้อบกพร่องนั้นมีประการใด ในกรที่ศาลจะใช้หลักนี้ โดยปกติศาลจะต้องอ้างอิงถึงเหตุผลที่ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นใช้บังคับจากคำปรารภในกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนี้นเองหรือจากรายงานของคณะกรรมการพิจารณาค้นคว้าปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนั้นโดยตรง
กรณีหาปรากฏว่าไม่มีบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ นักกฎหมายในระบบรอมมอนลอว์จะแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นมีจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ หากปรากฎว่าไม่มีจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้ได้นักกฎหมายในระบบคมอมอนลอว์ก็จะแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้น ได้มีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์เขียนไว้อย่างไรนำมาปรับใช้กับข้อพิพาทนั้นได้หรือไม่ หากปรากฏว่าไม่เคยมีข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์เขียนไว้ นักกฎหมายในระบบคมอมอนลอว์ก็จะแก้ไขปัญหาเป็นประการสุดท้ายคือ การใช้หลักเหตุผลของข้อเท็จจริงและหลักความยุติธรรม (Equity) มาปรับใช้อันถือว่าเป็นเครื่องมือในการอุดช่องว่างกฎหมายของระบบคอมมอนลอว์ กล่าวคือ เป็นการค้นหาหลักเกณฑ์ หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่โดยใช้หลักเหตุผล และหลักความยุติธรรมจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เเละไม่ว่าจะเป็นไปในทางกฎหมายแพ่งหรือในทางกฎหมายอาญาศาลในระบบคอมมอนลอว์ก็สามารถค้นหาหลักเกณฑ์หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้
นิติวิธีที่กล่าวมานี้เป็นการใช้และเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายตามแนวความคิดหรือทัศนคติของนักกฎหมาย

หลักความยุติธรรม

ระบบคอมมอนลอว์ตั้งอยู่บนรากฐานของจารีตประเพณีและหลักเหตุผลของข้อเท็จจริงอันเป็นเครื่องมือในการอุดช่องว่างกฎหมาย และเป็นบ่อเกิดที่ไม่มีขอบเขตซึ่งช่วยให้กฎหมายอังกฤษสามารถพัฒนามาได้จนถึงปัจจุบัน นอกจานี้กฎหมายอังกฤษยังมีหลักความยุติธรรม (EQuity) เป็นบ่อเกิดของกฎหมายที่คู่เคียบกับหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ แต่หลักความยุติธรรมที่จะใช้บังคับได้นั้น ในปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาไปแล้ว หลักความยุติธรรมจึงมีฐานะเช่นเดียวกับหลักกฎหมายตามคำพิพากษาไปแล้ว หลักความยุติธรรมจึงมีฐานะเช่นเดีวกับหลักกฎหมายตามคำพิพากษาคืจะนำหลักยุติธรรมใช้ได้ฉพาะที่เคยมีในแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาแล้วเท่านั้น

ข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์

งานเขียนทางนิติศาสตร์ในอังกฤษนั้นมี 2 ประเภท คือ งานเขียนของนักวิชาการ กับงานเขียนของผู้พิพากษาในอดีตงานเขียนของนักวิชาการไม่ได้รับความสนใจจากนักกฎหมายอังกฤษเท่าใดนัก แต่งานเขียนของผู้พิพากษาที่มีชื่อเสียงเช่น Glanvill,BractonและLittleton ได้รับการยอมรับนบึอเหมือนเป็นคัมภีร์กฎหมาย แต่ภายหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน งานเขียนของนักวิชาการเริ่มมีบทบาทและเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากนักนิติศาสตร์มากขึ้น แต่ก็ยังด้อยกว่าหลักกฎหมายจากคำพิพากษา

จารีตประเพณี

จารีตประเพณี คือ รูปแบบพื้นฐานของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ในอดีตจารีตประเพณีมีความสำคัญมากในฐานะที่วางแนวปฏิบัติของชนกลุ่มน้อยในประเทศอังกฤษ เมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยมมหาราชประกาศกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับทั่งไปภายใต้ศาลหลวงที่นำจารีตประเพณีมาผสมผสานและปรับใช้โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นรายกรณี จนนำไปสู่การยึดมั่นในหลักการถือปฏิบัติตามแนวคำพิพากษาบรรทัดฐานมากกว่าจารีตประเพณีเดิมๆ ในอดีต และเมื่อศาลยอมรับบังคับตามจารีตประเพณีใด ก็จะทำให้จารีตประเพณีนั้นหมดความสำคัญที่จะนำมาอ้างได้อีก เพราะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งจองหลักกฎหมายจากคำพิพากษาไปแล้ว

บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร

เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา และบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีฐานะเป็นบ่อเกิดกฎหมายลำดับรองทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเนื่องจากการขยายตัวของสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นนับตั้งแต่ประเทศอังกฤษได้เริ่มเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยโดยกำเนินแนวทางรัฐสวัสดิการ และนำประเทศเข้าสูระบบประชาคมเศรษฐกิจยุโรป บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงได้ทวีความสำคัญและเริ่มมีการยอมรับว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นบ่อเกิดของกฎหมายเทียบเท่าหลักกฎหมายในคำพิพากษามากขึ้นทุกที โดยรัฐสภาได้มีบทบาทในการตรากฎหมายลายลักษณ์อักษรมาใช้มากยิ่งขึ้น ซึ่งศาลคอมมอนลอว์ต้องยอมรับบังคับใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้น โดยถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้นของหลักคอมมอนลอว์และหากว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาเช่นนี้ถือว่าแนวคำพิพากษานั้นถูกยกเลิกไป การใช้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ในกรณีบทกฎหมายนั้นชัดเจนผู้พิพากษาจะปรับใช้กฎหมายตามตัวอักษรแต่ถ้าเป็นที่สงสัยศาลจะตีความให้มีความหมายอย่างแคบเพื่อที่จะไม่ให้บทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นเข้าตัดทอนของเขตของหลักคอมมอนลอว์ ทั้งนี้เพื่อจะรักศาไว้ซึ่งอำนาจศาลให้มาที่สุด อย่างไรก็ตามในทัศนของผู้พิพากษาคอมมอนลอว์มักถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีฐานะต่ำกว่าหลักกฎหมายจากคำพิพากษาและจะไม่ยอมรับเข้าสู้ระบบกฎหมายอย่างจริงจังจนกว่าจะมีรำพิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งในบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นไปใช้บังคับเสียก่อน และเมื่อเกิดข้อพิพากษาทำนองเดียวกัน ศาลที่พิจารณาคดีมักจะนิยมอ้างคำพิพากษามากกว่าอ้างกฎหมาย

หลักกฎหมายจากคำพิพากษา

บ่อเกิดของกฎหมายท่ำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ หลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาล โดยสืบทอดมาจากระบบศาลหลวงที่ถือว่าเหตุผลได้รับการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็นกฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับตัดสินข้อพิพาท เพราะเหตุผล (Reason) มีค่าเป็นกฎหมายอยู่แล้ว ศาลเป็นเพียงผู้ค้นพบและประกาศใช้ และการที่ศาลระบบคอมมอนลอว์ยอมผูกพันตามแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานก็เป็นไปตามหลักที่ว่า ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่การที่ศาลระบบคอมมอนลอว์จะยอมผูกพันยืดถือตามแนวคำพิพากษาเดิม(The Doctrine precedent)นั้นย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการ คือ
(1) ส่วนที่เป็นเหตุผลที่จำเป็นในการวินิจฉัยคดีนั้น (The ratio decidendi)
(2)คำพิพากษาน้นต้องเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords)
ดังนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักกฎหมายต่างๆ ในระบบคอมมอนลอว์นั้นจะถูกรุงแต่งโดยศาลหรือผู้พิพากษา ทำให้กฎหมายมีรายละเอียดมากในทางฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายมีรายละเอียดมากในทางปฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาเชิงทฤษฎี บทบาทของมหาวิทยาลัยกฎหมายและนักวิชาการอยู่ในวงแคบ ทำให้การพัฒนากฎหมายอยู่ในมือของนักปฎิบัติ คือ ศาลและเนติบัณฑิต ซึ่งรับการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย ระบบกฎหมายคาอมมอนลอว์จึงได้รับการพัฒนาแบบเป็นไปเองภายใต้หลัก “เหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi)” เป็นผลให้โครงสร้างของกฎหมายขาดลักษณะที่เป็นระเบียบสอดคล้องกันไม่เป็นตรรกและเข้าใจยากว่าในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการทางนิติศาสตร์และมีลักษณะเป็นระบบมากกว่า ผู้พิพากษาหรือศาลในระบบคอมมอนลอว์นี้มีบทบาทสำคัญมากจนกระทั่งเราเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า ระบบกฎหมายที่ศาลกำหนดขึ้น (Judge made law) และอาจกล่าวได้ว่าคำพิพากษาของศาลคอมมอนลอว์นั้น นอกจากจะมีบทบาทในการปรับปรุงใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงแล้วยังมีบทบาทในการวางนิติวิธีทางกฎหมายด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอำนาจของศาลในระบบคอมมอนลอว์มีมากกว่าในระบบซีวิลลอว์มาก หลักเกณฑ์ที่ศาลตั้งขึ้นจากการพิจรณาข้อเท็จจริงโดยคำพิพากษานี้จะต้องได้รับการถือตาม (Precedent) เพื่อให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีหลักประกันความแน่นอนและไม่ตกอยู่ภายใต้อำเภอใจของผู้พิพากษา อย่างไรก็ตามการถือตามแนวคำพิพากษานี้มีปัญหาว่านานไปแนวคำพิพากษานั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีข้อยกเว้นการใช้หลัก (Precedent) นี้ในกรณีที่ข้อพิพากษาต่างกัน เรียกว่า “หลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง”(The Technique of Distinctions) คือว่าถ้าข้อเท็จจริงในคดีเหมือนกันทุกประการก็ต้องถือตามแนวบรรทัดฐานเดิม(Precedent) แต่ถ้าวิเคราะห์ออกมาแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นต่างกัน ศาลก็ไม่ต้องถือตามแนวบรรทัดฐาน และหากหลักที่ศาลวางไว้มิได้เป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรงแต่เป็นเพียงข้อสังเกตหรือข้ออ้างที่กล่าวไว้ (Obiter dictum) โดยศาลมิได้มุ่งให้มีผลผูกพันในอนาคต ข้อสังเกตเช่นนั้นก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ถือตาม ด้วยหลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง นี้ทำให้ศาลอังกฤษสามารถพัฒนาระบบกฎหมายที่ยึดหยุ่นและสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ ๆที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องกลับหลักกฎหมายที่มีมาแต่เดิม
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะต้องเจริญรอยตามรำพิพากษาก่อนๆ ซึ่งเป็นแบบอย่าง (Precedent) ก็ตาม แต่หากว่าในกรณีที่คดีก่อนศาลได้ตัดสินไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ในคดีปัจจุบันอาจพิพากษาว่าคดีก่อนได้พิพากษาผิดพลาดไปและพิพากษากลับหลักเกณฑ์ที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้กำหนดไว้ก็ได้ กรณีเช่นนี้ถือเป็นการสร้างแบบอย่าง (Precedent) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อความยึดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์
ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

หลักกฎหมายจากคำพิพากษา

บ่อเกิดของกฎหมายท่ำคัญที่สุดในระบบคอมมอนลอว์ คือ หลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาล โดยสืบทอดมาจากระบบศาลหลวงที่ถือว่าเหตุผลได้รับการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็นกฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับตัดสินข้อพิพาท เพราะเหตุผล (Reason) มีค่าเป็นกฎหมายอยู่แล้ว ศาลเป็นเพียงผู้ค้นพบและประกาศใช้ และการที่ศาลระบบคอมมอนลอว์ยอมผูกพันตามแนวคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานก็เป็นไปตามหลักที่ว่า ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่การที่ศาลระบบคอมมอนลอว์จะยอมผูกพันยืดถือตามแนวคำพิพากษาเดิม(The Doctrine precedent)นั้นย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการ คือ
(1) ส่วนที่เป็นเหตุผลที่จำเป็นในการวินิจฉัยคดีนั้น (The ratio decidendi)
(2)คำพิพากษาน้นต้องเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords)
ดังนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักกฎหมายต่างๆ ในระบบคอมมอนลอว์นั้นจะถูกรุงแต่งโดยศาลหรือผู้พิพากษา ทำให้กฎหมายมีรายละเอียดมากในทางฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายมีรายละเอียดมากในทางปฎิบัติและผูกติดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ จนกระทั้งนักกฎหมายไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาเชิงทฤษฎี บทบาทของมหาวิทยาลัยกฎหมายและนักวิชาการอยู่ในวงแคบ ทำให้การพัฒนากฎหมายอยู่ในมือของนักปฎิบัติ คือ ศาลและเนติบัณฑิต ซึ่งรับการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย ระบบกฎหมายคาอมมอนลอว์จึงได้รับการพัฒนาแบบเป็นไปเองภายใต้หลัก “เหตุผลในคำพิพากษา(The ratio decidendi)” เป็นผลให้โครงสร้างของกฎหมายขาดลักษณะที่เป็นระเบียบสอดคล้องกันไม่เป็นตรรกและเข้าใจยากว่าในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการทางนิติศาสตร์และมีลักษณะเป็นระบบมากกว่า ผู้พิพากษาหรือศาลในระบบคอมมอนลอว์นี้มีบทบาทสำคัญมากจนกระทั่งเราเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า ระบบกฎหมายที่ศาลกำหนดขึ้น (Judge made law) และอาจกล่าวได้ว่าคำพิพากษาของศาลคอมมอนลอว์นั้น นอกจากจะมีบทบาทในการปรับปรุงใช้กฎหมายแก่ข้อเท็จจริงแล้วยังมีบทบาทในการวางนิติวิธีทางกฎหมายด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอำนาจของศาลในระบบคอมมอนลอว์มีมากกว่าในระบบซีวิลลอว์มาก หลักเกณฑ์ที่ศาลตั้งขึ้นจากการพิจรณาข้อเท็จจริงโดยคำพิพากษานี้จะต้องได้รับการถือตาม (Precedent) เพื่อให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีหลักประกันความแน่นอนและไม่ตกอยู่ภายใต้อำเภอใจของผู้พิพากษา อย่างไรก็ตามการถือตามแนวคำพิพากษานี้มีปัญหาว่านานไปแนวคำพิพากษานั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีข้อยกเว้นการใช้หลัก (Precedent) นี้ในกรณีที่ข้อพิพากษาต่างกัน เรียกว่า “หลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง”(The Technique of Distinctions) คือว่าถ้าข้อเท็จจริงในคดีเหมือนกันทุกประการก็ต้องถือตามแนวบรรทัดฐานเดิม(Precedent) แต่ถ้าวิเคราะห์ออกมาแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นต่างกัน ศาลก็ไม่ต้องถือตามแนวบรรทัดฐาน และหากหลักที่ศาลวางไว้มิได้เป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรงแต่เป็นเพียงข้อสังเกตหรือข้ออ้างที่กล่าวไว้ (Obiter dictum) โดยศาลมิได้มุ่งให้มีผลผูกพันในอนาคต ข้อสังเกตเช่นนั้นก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ถือตาม ด้วยหลักพิเคราะห์แยกแยะความแตกต่าง นี้ทำให้ศาลอังกฤษสามารถพัฒนาระบบกฎหมายที่ยึดหยุ่นและสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ ๆที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องกลับหลักกฎหมายที่มีมาแต่เดิม
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะต้องเจริญรอยตามรำพิพากษาก่อนๆ ซึ่งเป็นแบบอย่าง (Precedent) ก็ตาม แต่หากว่าในกรณีที่คดีก่อนศาลได้ตัดสินไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (House of Lords) ในคดีปัจจุบันอาจพิพากษาว่าคดีก่อนได้พิพากษาผิดพลาดไปและพิพากษากลับหลักเกณฑ์ที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้กำหนดไว้ก็ได้ กรณีเช่นนี้ถือเป็นการสร้างแบบอย่าง (Precedent) ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้เพื่อความยึดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์
ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

บ่อเกิดของกฎหมายคอมมอนลอว์

บ่อเกิดของกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ ได้แก่ 1) หลักกฎหมายคำพิพากษา (Precedent) 2)บทกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statute Law) 3) จารีตประเพณี (Custom) 4) ข้อคิดข้อเขียนของนักนิติศาสตร์ 5) เหตุผลและความยุติธรรม

ประวัติความเป็นมาของระบบคอมมอนลอร์

ประวัติความเป็นมาของระบบคอมมอนลอร์

ระบบคอมมอนลอร์เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งในสมัยนั้นการใช้กฎหมายในประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันเพียงเล็กน้อย โดยกฎหมายที่ใช้บังคับก็คือ กฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ ของกลุ่มชนเป็นจำนวนมากที่มีภูมิลิเนาอยู่เขตพื้นที่ประเทศอังกฤษกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปและมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์กำหนดวิถีชีวิตของสมาชิกในกลุ่มของตน ทำให้จารีตประเพณีมีลักษณะที่หลากหลายและขาดเอกภาพ จนกระทั่งมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทราชย์ภายใต้การปกครองของ “กษัตริย์” ที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด มีการจัดระบบการปกครองเสียใหม่ ในรูปการครองที่ดิน อันเป็นการเสริมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือศักดินาอื่นๆ เเละได้ตั้งตัวแทนของกษัตริย์ในลักษณะของศาลที่เดินทางไปตัดสินคดีในท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ศาลหลวง” ( Royal Corut ) วิธีการพิจารณาวินิจฉัยของศาลหลวงนั้นมี 2 วิธีคือ
1) เป็นการนำเอาจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังนี้เมื่อมีคำตัดสินจากศาลหลวงดังกล่าวท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างท้องถิ่นและมีปัญหาว่าจะใช้จารีตประเพณีของท้องถิ่นใดตัดสิน ได้รับการคลี่คลายโดยระบบศาลหลวงเป็นผู้ตัดสินคดีข้อพิพาทนั้น ๆ เช่นกัน
2) ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีของท้องถิ่นศาลหลวงจำต้องสร้างหลักกฎหมายขึ้นมาใหม่โดยเป็นการใช้เหตุผลไปพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดเป็นข้อพิพาทแล้วศาลหลวงวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินชี้ขาดจากการพิจารณาเหตุผลที่แฝงอยู่ในความสัมพันธ์ทางข้องเท็จจริงนั้นหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ต่างจากการใช้กฎหมายท้องถิ่นแบบเดิมมิใช่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีแต่เป็นการวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้นเอง
ต่อมาเมื่อระยะเวลานานขึ้นจึงได้พัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการพัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการจัดระบบจารีตประเพณีเป็นหนึ่งเดียวนี้จึงทำให้เป็นระบบส่วนกลาง หรือระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) โดยที่หลักคอมมอนลอว์นั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นมาจากจารีตประเพณีหรือจากหลักเหตุผลที่ได้จากการพิจารณาข้อเท็จจริงในข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการตัดสินตามอำเภอใจดังนี้ทำให้มีการยึดหลักเกณฑ์ในคำพิพากษาที่มีมาก่อนมาใช้ในการตัดสินที่มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นแบบเดียวกันในภายหลังตามหลักการที่กล่าวว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน และพัฒนาต่อมาจนเกิดเป็นทฤษฎีการตัดสินโดยยึดหลักกฎหมายตามคำพิพากษา (The doctrine of precedent) ในราวปลายศตวรรษที่ 18
และต่อมาเมื่อระบบคอมมอนลอว์ได้พัฒนาถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 จนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ไม่ว่าจะด้วยการมีกระบวนพิจารณาที่เคร่งครัดจำกัดมากเกินไปและต้องผูกพันอยู่กับคำพิพากษาบรรทัดฐานของศาลคอมมอนลอว์ กฎหมายคอมมอนลอว์ของศาลหลวงเริ่มไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม จนไม่สามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม หรือแนวคิดของผู้พิพากษาที่เป็นอนุรักษ์นิยมจนมากเกินไปทำให้มีผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากศาลคอมมอนลอว์ ต้องหันไปพึ่งพิงและร้องของความเป็นธรรมจาก Load Chancellor ราชเลขานุการของพระมหากษัตริย์เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนดังกล่าว Load Chancellor มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Court of Chancery ได้เยียวยาความเดือดร้อนแก่ผู้ร้องทุกข์ โดยยึดหลักความเป็นธรรมในแต่ละกรณี (The Equity of the case) กล่าวคือ วินิจฉัยคดีโดยยึดหลักประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่ มิได้ยึดถือตามหลักกฎหมายตามแนว คำพิพากษาแบบศาลคอมมอนลอว์ จนพัฒนาเป็นหลักเอคคิวตี้ขึ้นในที่สุด หลักเอคคิวตี้นี้จึงเป็นกฎหมายของประเทศอังกฤษอีกหลักหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับระบบคอมมอนลอว์ ในกรณีระบบคอมมอนลอว์มิได้ให้ความเป็นธรรมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ครั้นถึงศตวรรษที่ 18 เมื่อชนชั้นอังกฤษเติบใหญ่ขึ้นจนเข้ายึดกุมรัฐสภาได้ และมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้มีการออกกฎหมายมาแก้ไขหลักฎหมายคอมมอนลอว์ที่ไม่สอดคล้องกับการขยายของทุนนิยมในสมัยนั้น ในช่วงแรกศาลคอมมอนลอว์ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สภาบัติญัติขึ้น เพราะผู้พิพากษามีความเชื่อว่า คอมมอนลอว์เป็นระบบเหตุผลที่ได้รับการปรุงแต่งโดยนักปราชญ์มานานจนเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว แต่นานเข้าความต้องการของมหาชนได้บีบบังคับให้ศาลต้องยอมรับกฎหมายลายลักษณ์อักษร กระนั้นศาลก็ยังคงอิดเอื้อนและพยายามที่จะสงวนสิทธิที่จะไม่ใช้กฎหมายของรัฐสภา เมื่อกฎหมายขัดต่อเหตุผลหรือความรู้สึกของมหาชน โดยศาลอ้างเสรีภาพที่จะไม่ใช้กฎหมายนั้นบังคับ ในที่สุดรัฐสภาอังกฤษจึงได้บังคับให้ศาลนำกฎหมายที่รัฐสภาออกไปใช้บังคับ โดยศาลไม่มีดุลยพินิจงดใช้กฎหมาย ผลจากกฎหมายนี้ทำให้ศาลคอมมอนลอว์เลี่ยงไปสร้างหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยให้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีผลน้อยที่สุด โดยถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้นของหลักคอมมอนลอว์ จึงพยายามตีกฎหมายให้แคบและเคร่งครัดเข้าไว้ยึดตัวอักษรเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือหลักตีความตามตัวอักษร (Literal Rule) ทำให้กฏหมายลายลักษณ์อักษรกินความไม่กว้าง เมื่อกฎหมายกินความแคบศาลก็มีโอกาสนำหลักคอมมอนลอว์อันเป็นหลักทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนั้น
การวิวัฒนาการของฝ่ายนิติบัญญัติที่ดำเนินควบคู่ไปกับการขยายอิทธิพลของรัฐประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และแนวความคิดของ Jeremy Bentham ทำให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความในตอนกลางศตวรรษที่ 19 เป็นการทำลายเครื่องรั้งพัฒนาการของกฎหมายอังกฤษครั้งสำคัญ จากนั้นมานักกฎหมายและศาลอังกฤษจึงค่อยๆ หันมายอมรับกฎหมายสารบัญญัติมากขึ้น และเป็นผลให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้รับการจัดระบบให้ดีขึ้นมีการปรับปรุงองค์กรตุลาการ โดยผลของ Judicature Acts 1873-1875 ศาลอังกฤษทั้งหมดสามารถใช้กฎหมาย Equity ควบคู่ไปกับหลักคอมมอนลอว์ได้ แต่กฎหมายอังกฤษก็ยังคงรักษาแบบฉบับเดิมไว้ โดยถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายซึ่งต่างจากระบบชีวิลลิว์ในประเทศภาคพื้นยุโรปในนัยนี้ รัฐสภาอังกฤษมีฐานะเพียงเป็นผู้แสดงแนวทางกฎหมายที่วิวัฒนาการขึ้นใหม่เท่านั้น แทนที่จะเป็นผู้บัญญัติกฎหมายโดยตรง และหลังจากการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 19 ระบบกฎหมายเจริญและซับซ้อนขึ้นจนยากที่จะมีผู้อธิบายระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้หมดเหมือนสมัยของท่าน Glanvill,Bracton,Coke หรือ Blackstone ความรู้ทางกฎหมายอังกฤษจะต้องศึกษาค้นคว้าเอาจากรายงานคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้เริ่มจัดทำขึ้นในปี1865 และจากรำราชุดใหญ่เรียกว่า Laws of England โดยมี Loard Halsbury แม่งาน ซึ่งเสนอภาพกว้างๆ ของกฎหมายอังกฤษอย่างเป็นระบบ